วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

วิธีจัดการตู้เย็นและตู้กับข้าวในห้องครัวอย่างไรให้เหมาะสม

[ ตู้กับขัาว ]

ตู้กับขัาว มีหน้าที่เก็บ ของแห้ง ปลาแห้ง เครื่องเทศ เกลือ นํ้าปลา รวมทั้ง อุปกรณ์ทำครัวบางอย่าง และอี่นๆ เช่น อาหารที่ทอด ปิง ย่างเสร็จแล้ว ด้านหน้า ตู้กับข้าวมักทำด้วยตาข่ายโปร่งกันแมลงวันและไล่หนูเข้าไปและเล็มอาหารได้ แต่แมลงหวี่ เข้าไปได้ทุกตัว แม้จะมีตาข่ายระบายกลิ่นต่างๆ ของอาหารในตู้ออกไป อย่างไร ก็ตามบ่อยครั้งที่ตู้กับข้าวมีกลิ่นเหม็นอับ วิธีขจัดกลิ่นเหม็นอับให้หมดไปคือ ใช้ปูน ขาวเล็กน้อย หรือใช้นํ้าส้มสายชูแทนก็ได้ ใส่ชามใบเล็ก เอาไปวางมุมใดมุมหนึ่ง ของตู้กับข้าว ทิ้งไว้ประมาณ 3-4 วัน กลิ่นอับซนก็จะค่อยจางหายไป ควรทำความ สะอาดตู้กับข้าวเมื่อรู้สืกว่ามีความสกปรก ตรวจดูลวดตาข่ายว่ามีตรงไหนขาดเป็น รูใหญ่พอที่แมลงวันจะเข้าไปได้หรือไม่ ถ้าพบก็ให้ซ่อม จะเอาเทปใสติดไว้กเ,ด้ ถ้า หากมีมดแมลงก็หาที่รองฃาตู้ทั้งสี่ขามาเติมนํ้ากันมดแมลงได้ หริอจะเอาชอล์ก กันมดมาทาที่ด้านนอกตู้โดยรอบก็ได้

[ ตู้เย็น ]

ควรตั้งตู้เย็นไว้ในที่ราบเรียบ อากาศถ่ายเทได้สะดวก ปรับสกรูตู้ ด้านหน้า ให้ตู้เอนไปข้างหลังเล็กน้อย ให้ด้านหลังของตู้เย็นห่างจากข้างฝาไม่น้อย กว่า 10 ชม. ห่างจากด้านบน 30 ชม. และด้านข้าง 3 ชม. ถ้าอากาศถ่ายเทไม่ สะดวกจะทำให้คอมเพรสเชอร์ทำงานหนัก และไม่ตั้งในที่แสงแดดส่องถึงหรือใน บริเวณที่มีความร้อนสูง เช่น อยู่ใกล้เตาแก๊สหรีอเตาอบ ไม่ควรตั้งตู้เย็นในบริเวณ อับชื้นหรือบริเวณที่มีนํ้ากระเด็นมาใส่ เช่น ใกล้ก๊อกนํ้า ความชื้นจะทำให้ตู้เย็นเป็น สนิมได้ง่ายและยังเป็นสาเหตุทำให้ไฟฟ้ารั่ว ควรต่อสายดินเข้ากับด้านหลังตอนล่าง ของตู้เย็น และไม่ควรเสียบปลั๊กตู้เย็นร่วมกับปลั๊กเครี่องใช้ฟฟ้าอื่นๆ

เลือกตู้เย็นที่มีฃนาดเหมาะสมกับครอบครัว ตู้เย็นที่ประหยัดไฟฟ้าได้ มากจะมีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ใหม่ 2001 ซึ่งประหยัดได้มากกว่าเบอร์ 5 เดิม การประหยัดอยู่ที่คุณรักษาอุณหภูมิให้คงที่ ตั้งเลขความเย็นไว้ที่เดิม ภายในตู้เย็น ควรตังไว้ที่ 4-8 ช. และในช่องแช่แข็งจะมีอุณหภูมิอยู่ในช่วง-!5 ถึง-18 ช. การ ที่จะรักษาอุณหภูมิไว้ได้นั้น ห้ามนำอาหารที่ร้อนหรือยังอุ่นอยู่ไปแชในตู้เย็น ลด 
การเปิดตู้เย็นโดยไม่จำเป็น เพราะอุณหภูมิจะร้อนขึ้นทุกครั้งที่เปิดค้าง ทำให้ค่า ไฟฟ้าเพิ่มทุกครั้งที่เปิดตู้เย็น อย่าใส่ของจนแน่นตู้เย็น หาที่ว่างลำบากเพราะนอก จากความเย็นไม,พอเพราะหมุนเวียนได้ไม่ดีแล้ว เวลาจะหยิบของแต่ละอย่างก็ยุ่ง ยาก อาจจะไปโดนของข้างๆ หกเรี่ยราดได้ การเก็บอาหารไว้นานก็ทำให้สารอาหาร ลดน้อยลงไปทุกที ทางที่ดีของสดไม่ควรตุนไว้เกินหนึ่งสัปดาห์ วันหยุดครั้งหน้า ก็ไปจ่ายตลาดครั้งใหม่ได้ ตู้เย็นชนิดกดปุ่มละลายนํ้าแข็งกินไฟน้อยกว่าชนิด ละลายนํ้าแข็งอัตโนมัติ นอกจากนี้ควรหมั่นตรวจสอบยางขอบประตูตู้เย็น ถ้าหาก สอดกระดาษแล้วเลี่อนกระดาษขึ้นลงได้แสดงว่าขอบยางเสื่อม ควรเปลี่ยนใหม่ เพราะทำให้ความเย็นเล็ดลอดออกมา ตู้เย็นแบบประตูเดียวกินไฟน้อยกว่าแบบ 2 ประตู ตู้เย็นแบบ 1 ประตู ขนาด 5-6 คิว 100 วัตต์ เปิดตลอดวันทุกวัน จะใช้ ไฟวันละ 12 หน่วย

หมั่นละลายนํ้าแข็งที่พอกพูนหนาขึ้นทุกวัน จนทำให้ท่อทองแดงทำหน้าที่ ได้น้อยลง เพี่อให้เครื่องทำความเย็นโดยราบรี่น ระบายความร้อนได้ดี ประหยัด ไฟได้ร้อยละ 39 การละลายนํ้าแข็งนอกจากกดตำแหน่งให้นํ้าแข็งละลายแล้ว ให้ ถอดปลั๊กไฟด้วย ถ้าหากว่ามีนํ้าละลายจนไหลออกมานอกตู้เย็นจะได้ป้องกันการ ถูกไฟดูด แต่ถ้ามีบระสบการณ์ดีว่านํ้าจะไม่ไหลออกมา ไม่ต้องถอดปลั๊กก็ได้ เพี่อ รักษาอุณหภูมิของชั้นล่างเอาไว้ ถ้าที่บ้านมีตู้เย็นอีกหลังก็ย้ายของไปไว้เสียก่อน การละลายไม่ควรใจร้อนเอาของแข็งไปงัดไปแงะให้นํ้าแข็งหมดเร็ว อาจพลาดไป โดนที่สำคัญทำให้เสียหายได้ ถ้าท่อทองแดงถูกของแงะเป็นรู นํ้ายาทำความเย็น จะระเหยออกไปหมด ค่าซ่อมและเติมนํ้ายาแพง
ควรทำความสะอาดตู้เย็นเดือนละครั้ง ก่อนทำความสะอาดตู้เย็นให้ ดึงปลั๊กออกก่อนทุกครั้ง เวลาทำความสะอาดภายในและภายนอกตู้ควรใช้ผ้านุ่ม ชุบ'นํ้าสบู่เช็ด และเช็ดด้วยผ้าชุบนํ้าที่สะอาด แล้วตามด้วยผ้าแห้ง เพี่อซับนํ้าออก ให้หมด ถอดชั้นวางต่างๆ ภายในตู้เย็น ซึ่งสามารถถอดได้ง่ายนำออกมาล้างด้วยน้ำ ห้ามใช้แอลกอฮอล์หรือทินเนอร์

คราบเหนียวตรงส่วนบนของตู้เย็นให้ใช้ผ้าเปียกนํ้าชุบน้ำยาทำความ สะอาดเช็ดหลายหน ตามด้วยผ้าชุบนํ้าเปล่าจนสะอาด หากมีกลิ่นไม่ค่อยดี ให้เอา ก้อนถ่าน กากกาแฟหรือกากใบชาที่ชงหมดแล้ว ใส่ถ้วยแล้วใส่ไว้ในตู้เย็น กลิ่น ต่างๆ จะค่อยๆ หมดไปแล้วจึงเอาก้อนถ่านออกมา หรือโซดาคาร์บอเนต โซดา ทำขนม หรือเบ้'กกิ้งโซดา 1 ช้อนโต๊ะ ผสมลงในนํ้า 1 ลิตร แล้วล้างออก กลิ่น เหม็นจะหมดไป สำหรับรอยขีดเขียนด้านนอกตัวเครี่องให้ใช้นํ้ายาทำความสะอาด หมึกหรือใช้นํ้ามันไฟแช็กเช็ดสีออก ตามด้วยนํ้ายาล้างจานและนํ้าเปล่าจนสะอาด และหมดกลิ่นนํ้ามัน


เครื่องไล่หนูไฟฟ้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น